สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 2
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 5
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 1,155,158
  บทความ
***มะเร็ง***
                                                                                                

มะเร็ง..หรือเนื้อร้าย คือเนื้องอกชนิดร้ายที่กลายมาจากเนื้อเยื่อปกติของร่างกาย มีการเจริญเติบโตและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  อยุ่นอกเหนือการควบคุมของร่างกาย และมีโทษต่อร่างกาย
ปัจจุบันมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆ เช่นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะุเร็งในช่องปาก

สาเหตุ

- ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
- สารเคมีในสารหนู สายใยหิน สารนิกเกิล บุหรี่
- ฟันปลอมที่ไม่กระชับเวลาเคี้ยวอาหาร
- กรรมพันธ์ุ
- การกินอาหาร
- รังสีต่างๆ
- แสงอัลตราไวโอเลต(แสงแดด)อาจทำให้เป็นมะเร็งของผิวหนังและุริมฝีปาก
- แอลกอฮอล์
- สารฟอร์มาลดีไฮด์ ทำให้เกิดมะเร็งจมูก มะเร็งโพรงหลังจมูก 
- เบนซินทำให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- การเคี้ยวหมาก การจุกยาฉุน
- การติดเชื้อ

 สัญญาณอันตราย 7 ประการของอาการมะเร็งในระยะเริ่มแรก

1.เป็นแผลที่ไม่รุ้จักหาย แผลเรื้อรัง
2.การมีตุ่ม ไต ก้อนแข็งเกิดขึ้นในที่ซึ่งปกติไม่ควรมี เช่นที่เต้านม ในช่องท้อง บริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ
3.มีอาการผิดปกติเรื้อรังของระบบทางเดินอาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ กลืนอาหารไม่ลง ท้องผูกสลับกับท้องเสีย อยุ่เรื่อย ถ่ายเป็นมูกเลือดเรื้อรัง
4.มีอาการไอเรื้อรัง หรือเสียงแหบแห้งอยุ่นาน
5.มีการเปลี่ยนแปลงของหูด ไฝ ปาน ที่เคยมีอยุ่ก่อนเช่นวันดีคืนดีอาการคัน เกาจนแตกเป็นแผล
6.มีอาการผิดปกติของประจำเดือนในผู้หญิง เช่นมีประจำเดือนกระปริดกระปรอย
7.มีน้ำเหลืองหรือเลือดหรือสิ่งผิดปกติอื่นๆ ออกจากตา หู จมูก เต้านม ช่องคลอด ทวารหนัก

การป้องกัน

1.พยายามรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หาทางผ่อนคลายความเครียด ด้วยวิธีการต่างๆ อย่าอยุ่ในที่อากาศไม่บริสุทธิ์ งดสิ่งเสพติด
2.อย่ากินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนๆ
3.อย่ากินอาหารดิบหรือสุกๆดิบๆ (โดยเฉพาะปลาน้ำจืดดิบ)หรืออาหารทีมีเชื้อรา ,ถั่วลิสงบด พริกแห้ง หัวหอม กระเทียมที่ขึ้นรา
4.หลีกเลี่ยงการกินอาหารโปรตีนหมัก ปลาร้า ปลาส้ม หมูส้ม แหนม หรือเนื้อสัตว์ที่หมักโดยผสมดินประสิว(เช่น เนื้อเค็ม กุนเชียง ไส้กรอก แฮม ) ถ้าจะกินควรทำให้สุกเพื่อทำลายสารไนโตรซามีนเสียก่อน
5.อย่าพยายามกินอาหารหรือขนมที่ใส่สีย้อมผ้า
6.ลดอาหารที่มีไขมัน เช่นมันสัตว์,ของทอด ,ของผัดน้ำมัน อาหารใส่กระทิ
7.กินผัก เช่นผักใบเขียว ผักกระหล่ำ ดอกกระหล่ำ ผลไม้ ฝรั่ง มะละกอ ฟักทอง มะเขือเทศ  ส้ม
สาเหตุ การเจ็บป่วยของมนุษย์มีหลายสาเหตุจะโดยพฤติกรรม พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม
-โดยกรรมพันธ์ุ
-ทำงานหนักเกินกำลัง อาชีพบางอย่างทำให้รับสารเคมีบางชนิด  อาชีพทำผม ช่างเชื่อม ช่างอ๊อก ฯลฯ
-การอุปโภค บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการดื่มหรือรับประทานอาหารไม่ค่อยคำนึงถึงคุณค่าประโยชน์ และสิ่งที่จะก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย เช่นการใส่สารเร่งในการเจริญเติบโต สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง แต่งสี แต่งกลิ่น แต่งรสชาด ฯลฯ
-การทานอาหารไม่ตรงเวลา มื้อเช้าไม่ควรทานอาหารเกิน9โมงเช้า คนที่ทานอาหารเกิน9โมงเช้าทำให้เกิดสภาพความเป็นกรด ก้อจะเจ็บป่วยเป็นโรคกระเพาะลำไส้ใหญ่ ถุงน้ำดีอักเสบ และโรคตับ
-การทานของจุกจิกทำให้ตับต้องทำงานหนัก เพราะตับต้องผลิตด่างออกมา เพื่อปรับสภาพความเป็นกลาง จะเห็นว่าผู้ที่มีปัญหาเรื่องตับกับถุงน้ำดีน้ำหนักจะขึ้นง่าย เหนื่อยง่าย ทานน้อยๆก้อจะขึ้นง่าย  เพราะตับกับถุงน้ำดี ทำหน้าที่ส่วนหนึ่งในการแปลงไขมันในรูปของพลังงาน นอกจากนี้ การเจ็บป่วยยังมีสาเหตุอีกมากมาย เราควรหาทางป้องกันการเจ็บป่วยที่เกิดก่อนเวลาอันควร  ด้วยการทานอาหารเสริม ทานยาหรือสมุนไพรเพื่อป้องกันและรักษา เสริมสร้างภูมิต้านทาน ฟื้นฟูสมรรถภาพรักษาร่างกายให้คงสภาพชีวิตอยุ่ตราบเท่าอายุขัยอันควร หากระบบอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งทำงานผิดปกติ ก้อย่อมทำให้ร่างกายเสียดุลย์ ทำให้เกิดโรคร้ายบั่นทอนชีวิต
ระบบอวัยวะประกอบด้วย ระบบที่เอาอาหารและอากาศไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เพื่อเป็นพลังงานในการดำรงชีพ ได้แก่ ระบบย่อยอาหาร กระเพาะ ลำไส้
ระบบหมุนเวียน เลือด ปอด หัวใจ ระบบที่จะป้องกันร่างกายจากเชื้อโรค ได้แก่ ระบบต่อมน้ำเหลือง และภูมิคุ้มกัน ระบบที่จะรักษาสภาพร่างกายให้สมดุลย์อยุ่เสมอ ได้แก่ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ  ตลอดจนระบบประสาท การเกิดแก่เจ็บตายเป็นวัฎจักรในชีวิตมนุษย์ พฤติกรรมบางอย่างในการดำเนินชีวิต การบั่นทอนสุขภาพการรับประทานอาหาร อากาศที่หายใจ น้ำที่ดื่มกิน สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ มีแต่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน นานๆเข้าการสะสมสิ่งเหล่านี้ จึงเกิดความเสื่อมในอวัยวะต่างๆจึงมีอายุขัยสั้นกว่าความเป็นจริง
การซักประวัติอาการเริ่มป่วย โดยทั่วไปแพทย์ผู้ทำการรักษาอาศัยข้อมูลจากการซักถามอาการ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฎิบัติการ ช่วยในการพิเคราะห์หรือวินิจฉัยโรค และกำหนดแนวการดูแลรักษา
1.อาการสำคัญ
2.ปัจจุบัน การเจ็บป่วยในปัจจุบัน
3.ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
4.ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
5.ประวัติการเจ็บป่วยในคนข้างเคียง
6.ประวัติการเจ็บป่วยส่วนตัว
7.ประวัติการเจ็บป่วยในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี
8.ประวัติการเจ็บป่วยประจำเดือนในผู้หญิง
9.ประวัติการเจ็บป่วยตามระบบ
   เราเลือกตามประวัติต่างๆ ตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องซักให้ครบทุกข้อ ประวัติส่วนที่สำคัญ ก็คืออาการประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
1.อาการสำคัญ ไม่สะบายเป็นอย่างไรบ้างคะ มีอาการเป็นอะไร รุ้สึกเป็นอย่างไร ผู้ป่วยก็จะตอบ"ปวดหัว" " เจ็บคอ "  " ปวดท้อง" " ตัวร้อน " ,อ่อนเพลีย ฯลฯ
หมอก้อจะถามต่อ เป็นมากี่วันแล้ว หรือเริ่มเป็นตั้งแต่เมื่อไร
สรุปอาการสำคัญที่ต้องระบุ
         1.1 อาการหลักที่ผู้ป่วยรุ้สึกเดือดร้อน จนต้องมาพบหมอ
         1.2 ระยะเวลาของอาการที่เป็น
- ถ้าเป็นไข้มานานเป็นเดือน ก็อาจติดเชื้อเรื้อรัง วัณโรค มาลาเรีย เอดส์ มะเร็ง เอสแอลอี หรือโรคร้ายแรงอื่น
- ถ้าปวดเข่ามาเป็นแรมปี อาจเป็นโรคข้อเสื่อม (คนสูงอายุ)
- ถ้าปวดท้องเกิน 6 ชั่วโมง ,ไส้ติ่งอักเสบ
2. ประวัติเจ็บป่วยในปัจจุบัน
         2.1 อาการนั้นเริ่มเป็นตั้งแต่เมื่อไร
         2.2 ตอนเริ่มเป็นนั้นเป็นอย่างไร ค่อยๆเป็น หรือเป็นปุบปับ(ทันทีทันใด)
         2.3 อาการนั้นมีลักษณะอย่างไร? เป็นมากไหม ? นานไหม
         2.4 อาการนั้นเป็นมากเวลาใด
         2.5 ตำแหน่งที่เป็นอยุ่ตรงไหน
     2.6 อะไรทำให้อาการเป็นมากขึ้น? และอะไรทำให้อาการเป็นน้อยลง,กินยาแก้ปวดหรือหลับสักตื่นแล้วค่อยยังชั่ว (อาจเป็นไมเกรน,ปวดศรีษะจากความเครียด),ปวดท้องเวลาหิวจัด แต่กินข้าวรุ้สึกค่อยยังชั่ว (อาจเป็นโรคกระเพาะ),ปวดท้องมากเวลาขยับตัว แต่ถ้านอนนิ่งๆรุ้สึกสบายขึ้น (อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบ)
      2.7 มีอาการอื่นๆร่วมด้วยอะไรบ้าง? เช่นเป็นไข้มา 3 วัน มีอาการเจ็บคอ และไอร่วมด้วย (อาจเป็นคออักเสบ หลอดลมอักเสบ)  ปวดศรีษะมา 5 วัน มีอาการคลื่นไส้อาเจียร รุนแรง อาจเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ)
     2.8 อาการนั้นเคยเป็นมาก่อนไหม
     2.9 ได้ทำการรักษาหรือกินยาอะไรมาบ้าง
     2.10 มีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
3. ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต  ประวัติการเจ็บป่วยในครั้งก่อนๆ
     3.1 เคยเจ็บป่วยอะไรมาก่อนบ้าง? เมื่อไร ? มีอาการอย่างไร ? รักษาที่ไหน ? หมอบอกว่าเป็นโรคอะไร  ก่อนหน้านี้เคยไม่สบายถึงกับต้องซื้อยากิน หรือหาหมอบ้างหรือเปล่า
     3.2 เคยผ่าตัดอะไรมาก่อนบ้าง เมื่อไร ด้วยโรคอะไร รักษาที่ไหน
     3.3 เคยเป็นโรคภูมิแพ้, หืด หวัดแพ้อากาศ ,ลมพิษ ผื่นคัน หรือแพ้อะไรมาก่อนหรือไม่
4. ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว    ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆในหมู่ญาติพี่น้อง และบุคคลที่อยู่ในบ้านเดียวกับผู้ป่วย
     4.1 ประวัติทางโรคกรรมพันธุ์ ; โรคภูมิแพ้ต่างๆ ;ลมพิษ หวัดเรื้อรัง หืด ไมเกรน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หัวใจขาดเลือด อัมพาต ทาลัสซีเมีย ลมบ้าหมู ภาวะพร่องเอนไซม์จี-6พีดี   ตาบอดสี สายตาสั้น ฮีโมฟิเลีย  มะเร็งลำไส้ใหญ่
     4.2 ประวัติทางโรคติดเชื้อ ไข้หวัด  ไข้หวัดใหญ่  วัณโรค หัด หัดเยอรมัน อีสุกอีใส  คางทูม ไข้เลือดออก ตับอักเสบจากไวรัส
5. ประวัติการเจ็บป่วย ในคนข้างเคียง  ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ของบุคคลที่อยู่ข้างบ้าน  ชั้นเรียน ที่ทำงาน โรงงาน หมุ่บ้าน ฯลฯ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก หัด คางทูม  อีสุกอีใส อหิวา ฯลฯ
6. ประวัติส่วนตัว ประวัติเกี่ยวกับอายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา การศึกษา อาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ สภาวะด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อม น้ำดื่ม น้ำใช้ ส้อม นิสัยส่วนตัว การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ กินอาหารดิบ) อารมณ์ส่วนตัว (วิตกกังวล โมโหง่าย งอนเก่ง งานอดิเรก การเดินทาง  เข้าไปในเขตมาลาเรีย เข้าไปในป่าเขา

การซักประวัติจะช่วยในการวินิจฉัยโรค และรุ้สมมุติฐานของโลก และจ่ายยาได้ถูกกับโรค

การเจ็บป่วยโรคมะเร็ง  
1.มะเร็งผิวหนัง
2.มะเร็งช่องปาก
3. มะเร็งจมูก,มะเร็งโพรงหลังจมูก 
4. มะเร็งกล่องเสียง
5.มะเร็งปอด
6. มะเร็งหลอดอาหาร 
7. มะเร็งกระเพาะอาหาร
8.มะเร็งตับอ่อน 
9.มะเร็งลำไส้เล็ก 
10.มะเร็งลำไส้ใหญ่  
11.มะเร็งต่อมน้ำเหลือง  
12. มะเร็งเต้านม  
13. มะเร็งปากมดลูก  
14.มะเร็งอัณฑะ  
15. มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 
16. มะเร็งต่อมลูกหมาก 
17. มะเร็งกระดูก 
18. มะเร็งลูกตาในเด็ก 
19. มะเร็งรังไข่
20.มะเร็งไต

อวัยวะที่พบว่าเป็นมะเร็งได้บ่อย 

-มะเร็งผิวหนัง   -มะเร็งช่องปาก   -มะเร็งกล่องเสียง  -มะเร็งปอด  -มะเร็งมดลูก  -มะเร็งลำไส้  -มะเร็งตับ
 

      ธรรมโอสถ

          อันหนทาง  ชีวิต  คิดดูเถิด
เมื่อเราเกิด   แล้วต้องแก่   แน่ใช่ไหม
     หนีไม่พ้น   เจ็บไข้   กายและใจ
    จะแก้ไข  อย่างไร  ให้ทุกข์คลาย                        

     เป็นโรคกาย  หมอยา   รักษาโรค
    ถูกโฉลก  ถูกเหตุผล   ดลโรคหาย
   เป็นโรคใจ  ภัยรุมเร้า   เศร้าปางตาย
     ทุกข์มลาย  เมื่อรู้ใช้ " โอสถธรรม"

        เติมธรรมะ  ให้ชีวิต  พิชิตโรค
   ดับทุกข์โศก   ดับตัณหา   อย่าถลำ
 ดับกิเลส  โลภ  - โกรธ - หลง  จงหมั่นจำ
   ยึดพระธรรม  พระศาสดา   เป็นยาใจ

                         
ร่างกายของมนุษย์
 



  ร่างกายของมนุษย์ประกอบขึ้นด้วยส่วนต่างๆ ซึ่งจากลักษณะภายนอกถูกแบ่งออกเป็นศรีษะ(หัว) คอ ลำตัว(ทรวงอก ท้อง สะโพก)แขนขา มือเท้า และอื่นๆ
    นอกจากนั้นร่างกายของมนุษย์ยังอาจแบ่งออกเป็นระบบต่างๆตามหน้าที่(การทำงาน)ที่แตกต่างกันออกไป เช่น 
   1.ระบบสิ่งห่อหุ้มร่างกาย
   2.ระบบกระดูก
   3.ระบบกล้ามเนื้อ
   4.ระบบประสาท
   5.ระบบต่อมไร้ท่อ
   6.ระบบหัวใจและหลอดเลือด
   7.ระบบน้ำเหลือง
   8.ระบบทางเดินอาหาร
 10.ระบบทางเดินปัสสาวะ
 11.ระบบสืบพันธุ์
 
1.ระบบสิ่งห่อหุ้มร่างกาย (integumentary system) คือผิวหนังและสิ่งที่อยู่กับผิวหนัง เช่น ผม ขน เล็บ ต่อมเหงื่อ และต่อมไขมัน หน้าที่:ควบคุมรักษาอุณหภูมิของร่างกาย,ปกป้องร่างกาย,กำจัดของเสีย และรับความรู้สึกบางอย่าง เช่น ความร้อนเย็น(อุณหภูมิ),การสัมผัส,ความเจ็บปวด
2.ระบบกระดูก (skeletal system) คือกระดูกทุกชิ้นใน่างกายรวมทั้งกระดูกอ่อนและข้อ(ข้อต่อ)ต่างๆ
  หน้าที่:เป็นแกนสำหรับโครงร่าง การรับน้ำหนักและการเคลื่อนไหว ปกป้องอวัยวะภายในสร้างเม็ดเลือด และเก็บเกลือแร่ต่างๆ
 ระบบกระดูกได้แก่ กะโหลกศรีษะ ฟัน กระดูกขากรรไกรบน กระดูกขากรรไกรล่าง กระดูกสันหลังส่วนคอ กระดูกไหปลาร้า กระดูกสะบัก กระดูกกลางหน้าอก กระดูกซัี่โครง กระดูกสันหลังส่วนเอว กระดูกเชิงกราน กระดูกต้นแขน กระดูกแขน กระดูกข้อมือ กระดูกมือ กระดูกนิ้วมือ กระดูกต้นขา กระดูกข้อเท้า กระดูกเท้า กระดูกนิ้วเท้า เป็นต้น
3.ระบบกล้ามเนื้อ (muscular system) คือ กล้ามเนื้อทุกชนิดในร่างกาย รวมทั้งกล้ามเนื้อลาย(striated or skeletal muscles)กล้ามเนื้อเรียบ(smooth muscles)และกล้ามเนื้อหัวใจ (heart muscle)ตลอดจนเส้นเอ็นต่างๆที่เป็นส่วนของกล้ามเนื้อ
หน้าที่ : ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว คงลักษณะรูปร่าง และสร้างความร้อน
ระบบกล้ามเนื้อได้แก่
กล้ามเนื้อหน้าผาก frontal muscle
กล้ามเนื้อท้ายทอย occipital muscle
กล้ามเนื้อขมับ temporal muscle
กล้ามเนื้อคอ neck muscle
กล้ามเนื้อไหล่ deltoid muscle
กล้ามเนื้อหน้าอก pectoral muscle
กล้ามเนื้อหน้าแขน biceps muscle
กล้ามเนื้อหน้าท้อง abdominal rectus muscle
กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า quadriceps muscle
เอ็น tendon
เป็นต้น
4.ระบบประสาท (nervous system)
ระบบประสาทส่วนกลาง (eentral nervous system) คือสมอง และไขสันหลัง
ระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system)คือเส้นประสาท และอวัยวะรับความรู้สึกเช่นตาและหู
หน้าที่: ควบคุมการทำงานของร่างกายส่วนต่างๆ ทั้งที่รู้ตัวหรือสั่งได้ (voluntary)เช่นการเดิน วิิ่ง และไม่รู้ตัวหรือสั่งไม่ได้ (involuntary)ที่เรียกว่าระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system)เช่นหัวใจเต้น กระเพาะลำไส้ทำงาน เป็นต้น เส้นประสาททุกเส้นจะติดต่อสัมพันธ์กับสมองและไขสันหลัง
ระบบประสาทได้แก่
สมอง brain
ไขสันหลัง spinal cord
เส้นประสาทซี่โครงและแขน intercostal and brachial nerves
เส้นประสาทแขน brachial nerves
เส้นประสาทขา sciatic and femoral nerves
เป็นต้น
5.ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system)
คือต่อมทุกต่อมที่สร้างฮอร์โมน(hormones) หน้าที่:ฮอร์โมนคือ สารเคมีที่ผ่านมาตามกระแสเลือดเพื่อควบคุมการทำงานของร่างกายในส่วนที่ฮอร์โมน(สารเคมี)นั้นสามารถควบคุมได้
ระบบต่อมไร้ท่อ ได้แก่
ต่อมไพนีล pineal gland
ต่อมใต้สมอง pituitary gland
ต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์ thyroid and parathyroid glands
ต่อมไทมัส  thymus
ต่อมหมวกไต adrenals
ตับอ่อน pancreas
ลูกอัณฑะ (ในชาย) testes
รังไข่(ในหญิง) ovaries
เป็นต้น
6.ระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardio-vascular system)
คือ หัวใจ (heart)หลอดเลือด (vessels) และเลือด (blood)
หน้าที่:นำออกซิเจนและอาหารไปให้เซลล์และนำคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียจากเซลล์ไปขับถ่ายออกทางปอดและไต หรือไปทำลายทิ้งที่ตับ ช่วยรักษาความเป็นกรดด่างของร่างกาย ช่วยป้องกันโรค ป้องกันเลือดออก โดยเลือดจะแข็งตัวเป็นก้อนอุดตรงจุดที่เลือดออก และช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เป็นต้น
ระบบหัวใจและหลอดเลือดได้แก่
หัวใจ heart
ม้าม spleen
หลอดเลือดสมอง carotid artery &vein
หลอดเลือดแขนขวา right subclavian artery & vein
หลอดเลือดปอด pulmonary artery & vein
หลอดเลือดลำไส้ mesenteric artery & vein
หลอดเลือดไปตับ,ไต และอวัยวะในท้อง hepatic,renal and celiac artery &vein
หลอดเลือดแขน brachial artery & vein
หลอดเลือดขา femoral artery & vein
เป็นต้น
7.ระบบน้ำเหลือง (lymphatic system)
คือ น้ำเหลือง หลอดหรือท่อน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลือง รวมทั้งม้าม ต่อมทอนซิล และไทมัส
หน้าที่: กรองเลือด สร้างเม็ดเลือด ช่วยป้องกันโรค และคืนโปรตีนกลับสู่หลอดเลือด
ระบบน้ำเหลือง ได้แก่
ท่อน้ำเหลืองใหญ่ thoracic duct
ต่อมทอนซิล tonsil
ต่อมไทมัส thymus
ต่อมน้ำเหลือง lymph nodes
ม้าม spleen
ท่อน้ำเหลือง lymph vesseles
เป็นต้น
8.ระบบหายใจ
(respiratory system)
ได้แก่ ปอด หลอดลม และท่อทางเดินอื่นๆ ที่เข้าและออกจากปอด
หน้าที่:ฟอกเลือดดำ (เลือดที่ขาดออกซิเจน)ให้เป็นเลือดแดง (เลือดที่มีออกซิเจน)ขับคาร์บอนไดออกไซด์ เสมหะและสิ่งแปลกปลอมออก ช่วยรักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย และสร้างเสียงพูด
ระบบหายใจได้แก่
รูจมูก nasal cavity
ปาก mouth (oral cavity)
คอหอย throat (pharynx)
กล่องเสียง voice box(larynx)
หลอดลมคอ windpipe (trachea)
ปอด lungs
หลอดลม bronchus
เป็นต้น
9.ระบบทางเดินอาหาร
คือ ทางเดินอาหาร(กระเพาะลำไส้) และอวัยวะที่เกี่ยวข้อง เช่นต่อมน้ำลาย ตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน
หน้าที่:ทำหน้าที่ย่อยอาหาร และดูดซึมอาหารเข้าไปเลี้ยงร่างกาย สร้างสารที่จำเป็น ทำลายสารพิษ และขับถ่ายกากอาหารออก 
ระบบทางเดินอาหารได้แก่
ปาก mouth(oral cavity)
ต่อมน้ำลาย salivary glands
คอหอย throat (pharynx)
หลอดอาหาร esophagus
กระเพาะอาหาร stomach
ตับ liver
ตับอ่อน pancreas
ถุงน้ำดี gallbladder
ลำไส้เล็ก small intestine
ไส้ติ่ง appendix
ลำไส้ใหญ่ large intestine
ทวารหนัก  anus
เป็นต้น
10.ระบบทางเดินปัสสาวะ
คือ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง การสะสม และการขับถ่ายปัสสาวะ
หน้าที่: กำจัดและขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ควบคุมดุลของน้ำ สารเคมี และกรดด่างในเลือดและในร่างกาย
ระบบทางเดินปัสสาวะได้แก่
ไต   Kidney
ท่อไต ureter
กระเพาะปัสสาวะ urinary bladder
ท่อปัสสาวะ urethra
เป็นต้น
11.ระบบสืบพันธ์ุ (reproductive system)
คือลูกอัณฑะในชาย หรือรังไข่ในหญิง ที่สร้างเซลล์สำหรับการสืบพันธุ์ คือเชื้ออสุจิในชาย หรือไข่ในหญิง รวมทั้งอวัยวะอื่นๆ ที่ช่วยในการขนส่ง และสะสมเซลล์สำหรับการสืบพันธุ์นั้น
หน้าที่: ทำให้สืบพันธุ์ต่อไปได้ (ไม่สูญพันธุ์)
ระบบสืบพันธุ์ชายได้แก่
ต่อมลูกหมาก prostate gland
ท่อนำอสุจิ  vas deferens
ลึงค์  penis
ลูกอัณฑะ testes
ระบบสืบพันธุ์หญิง ได้แก่
ปีกมดลูก(ท่อนำไข่) uterine tubes
รังไข่ ovaries
มดลูก uterus
ช่องคลอด vagina

 
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน
ต่อมน้ำเหลือง (lymph node)ม่ีแทรกอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบ โครงสร้างประกอบด้วยโครงเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte และเซลล์ macrophage
ม้าม (spleen) เป็นต่อมน้ำเหลืองขนาดใหญ่ที่สุด อยู่บริเวณด้านหลังของกระเพาะอาหารด้านบนซ้ายของช่องท้อง
ทอนซิล (tonsil) มีอยู่หลายแห่งบริเวณคอหอย
ไทมัส (thymus) อยู่บริเวณขั้วหัวใจ จะมีขนาดใหญ่ตอนวัยเด็ก
อวัยวะเหล่านี้ทำหน้าที่กรองน้ำเหลือง และกำจัดสิ่งแปลกปลอม ตลอดจนเชื่้อโรคที่ผ่านเข้ามาจึงมีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย นั่นเอง โดยอวัยวะเหล่านี้มีโครงสร้างที่ประกอบด้วย เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ที่สำคัญ คือ Iymphocyte ซึ่งเป็นเซลล์่ของระบบภูมิคุ้มกัน
เมื่อกลาวโดยสรุประบบน้ำเหลืองจะมีหน้าที่ดังนี้
1)เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
2)รักษาภาวะสมดุลของของเหลวและโปรตีนในเลือด
3)เกี่ยวข้องกับการลำเลี่ยงไขมันดูดซึมจากระบบย่อยอาหารทางท่อน้ำเหลืองฝอยในวิลลัสของลำไส้เล็ก เพื่อไปยังระบบหมุนเวียนเลือดต่อไป  ถ้าระบบน้ำเหลืองคนเราดี ก็จะมีภูมิต้านทานที่ดี ไม่แพ้ง่าย ไม่ผื่นคันง่าย  เราควรสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์  ทานสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำรุงต่อมน้ำเหลือง เพราะช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกันการเป็นโรคร้ายแรงได้อาทิเช่น มะเร็ง เอดส์ เชื้อไวรัสต่างๆ  ก็จะเป็นการป้องกันและรักษาอีกทางหนึ่งเช่นกัน
บทความสามัคคีโอสถ
มะเร็ง
มะเร็งผิวหนัง,มะเร็งช่องปาก,มะเร็งจมูก,มะเร็งโพรงหลังจมูก,มะเร็งกล่องเสียง,มะเร็งปอด,มะเร็งหลอดอาหาร,มะเร็งกระเพาะอาหาร,มะเร็งตับอ่อน,มะเร็งลำไส้เล็ก,มะเร็งลำไส้ใหญ่,มะเร็งต่อมน้ำเหลือง,มะเร็งเต้านม,มะเร็งปากมดลูก,มะเร็งอัณฑะ,มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ,มะเร็งต่อมลูกหมาก,มะเร็งกระดูก,มะเร็งลูกตาในเด็ก,มะเร็งรังไข่,มะเร็งไต
ธรรมะเตือนสติของหลวงตา
 
   เตรียมตัวทั้งอยู่และไป
จงพากันตั้งใจบำเพ็ญความดี เพื่อเตรียมตัวทั้งอยู่และไปโดยไม่ประมาทนอนใจ เรื่องทุกข์นี้ใครอยู่ที่ไหนก็ต้องพบเช่นกัน เพราะทุกข์มีอยู่ในตัวของเราทุกคน อย่ากลัวทุกข์ที่ติดอยู่กับตัวจงพิจารณาให้รู้เท่าด้วยปัญญาจึงจะอยู่เป็นสุข  ก็ขอให้บำเพ็ญตนเสมออย่าหาอุปสรรคมาเป็นเครื่องกีดขวางตนเอง 
กินอาหารตามธาตุ
การส่งเสริมสุขภาพตามหลักการแพทย์แผนไทยได้ใช้ทฤษฎีธาตุทั้ง ๔ มนุษย์เกิดมามีธาตุทั้ง ๔ เป็นองค์ประกอบของชีวิต
การบำบัดรักษาโรคเป็นหน้าที่ของหมอ
ทุกคนต่างมีหน้าที่ของตนไม่ว่าหนุ่มสาวคนใด  หากได้อุทิศตนเพื่อประเทศชาติ  โดยทำตนเป็นเสมือนหยดน้ำหยดหนึ่งในสายธารหรือเป็นเม็ดทรายเม็ดหนึ่งในแผ่นดินของมาตุภูม